เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่โกนคิ้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 32
พระวิปัสสีราชกุมารทรงผนวช
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายสารถีรับคำสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว
ได้พารถกลับไปยังวังจากสวนนั้น ส่วนพระวิปัสสีราชกุมารได้ทรงปลงพระเกศา
และพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์. เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต
แล้ว ณ พระอุทยานนั้นเอง.
สาวกทั้งหลายก็ไม่โกนคิ้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 307
กระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็น
บรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่
ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อ
บวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความ
มีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง
ผู้ไม่มีขนค้วพระพุทธเจ้าห้ามบวช เล่ม6หน้า339
พระผู้มี
พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบรรพชา
คนมือด้วน. . .ไม่พึงบรรพชาคนเท้าด้วน. . .ไม่พึงบรรพชาคนทั้งมือและเท้า
ด้วน. .. ไม่พึงบรรพชาคนหูขาด . . .ไม่พึงบรรพชาคนจมูกแหว่ง. . .ไม่พึง
ไม่บรรพชาคนทั้งหูขาดทั้งจมูกแหว่ง. . .ไม่พึงบรรพชาคนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด . . .
ไม่พึงบรรพชาคนง่ามมือง่ามเท้าขาด . . . ไม่พึงบรรพชาคนเอ็นขาด . . . ไม่พึง
บรรพชาคนมือเป็นแผ่น. . .ไม่พึงบรรพชาคนค่อม. . .ไม่พึงบรรพชาคนเตี้ย. . .
ไม่พึงบรรพชาคนคอพอก. . .ไม่พึงบรรพชาคนถูกสักหมายโทษ. . .ไม่พึง
บรรพชาคนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย . . .ไม่พึงบรรพชาคนถูกออกหมายสั่งจับ. . .
ไม่พึงบรรพชาคนเท้าปุก. . .ไม่พึงบรรพชาคนมีโรคเรื้อรัง. . .ไม่พึงบรรพชา
คนมีรูปร่างไม่สมประกอบ . . .ไม่พึงบรรพชาคนตาบอดข้างเดียว . . .ไม่พึง
บรรพชาคนง่อย . . .ไม่พึงบรรพชาคนกระจอก. . .ไม่พึงบรรพชาคนเป็นโรค
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 340
อัมพาต . . .ไม่พึงบรรพชาคนมีอิริยาบถขาด . . .ไม่พึงบรรพชาคนชราทุพพล-
ภาพ . . .ไม่พึงบรรพชาคนตาบอดสองข้าง . . . ไม่พึงบรรพชาคนใบ้. . .ไม่พึง
บรรพชาคนหูหนวก. . .ไม่พึงบรรพชาคนทั้งบอดและใบ้. . .ไม่พึงบรรพชาคน
ทั้งบอดและหนวก. . . ไม่พึงบรรพชาคนทั้งใบ้และหนวก. . .ไม่พึงบรรพชาคน
ทั้งบอดใบ้และหนวก รูปใดบรรพชาให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ผู้ใดย่อมประทุษร้ายบริษัท เพราะความที่คนมีรูปแปลก ผู้นั้น ชื่อ
ปริสทูสกะ คือเป็นคนสูงเกินไป
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 346
มีผมเป็นหย่อม ๆ คือมาตามพร้อมด้วยผมที่ขึ้นในที่นั้น ๆ เช่นกับ
ข้าวกล้าในกระทงนาที่สัตว์กัดกินบ้าง. มีศีรษะลุ่นไม่มีผมบ้าง. มีผมหยาบแข็ง
คือมาตามพร้อมด้วยผมเช่นกับแปรงตาลบ้าง. มีผมขาวด้วยผมอันหงอกแต่
กำเนิดบ้าง. มีผมเป็นปกติ คือมาตามพร้อมด้วยผมเหมือนเปลวเพลิงจับบ้าง.
มีผมบนศีรษะเวียน คือมาตามพร้อมด้วยผมขวัญทั้งหลายมีปลายชันขึ้นเบื้อง
บน เช่นกับขวัญในตัวโคบ้าง.
มีขนคิ้วเนื่องเป็นอันเดียวกับผมบนศีรษะ คือมาตามพร้อมด้วยหน้า
ผากดังหุ้มด้วยร่างแหบ้าง, มีคิ้วติดกันบ้าง, ไม่มีขนคิ้วบ้าง,
คิ้วกับดวงตาอยู่ติดกันเมื่อโกนคิ้วย่อมเสี่ยงอันตรายที่่เกิดกับดวงตาได้
พระพุทธเจ้าจึงห้ามโกนขนในที่แคบทั้งหลายเล่ม9หน้า57
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงตัดหนวด ไม่
พึงปล่อยหนวดไว้ให้ยาว ไม่พึงไว้เครา ไม่พึงแต่งหนวดเป็นสี่เหลี่ยม ไม่พึง
ขมวดกลุ่มขนหน้าอก ไม่พึงไว้กลุ่มขนท้อง ไม่พึงไว้หนวดเป็นเขี้ยวโง้ง ไม่
พึงโกนขนในที่แคบ รูปใดโกน ต้องอาบัติทุกกฎ.